วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

การสำรวจทางทะเล

การสำรวจทางทะเล

การสำรวจทางทะเลของชาวยุโรปเกิดจากความต้องการพัฒนาเส้นทางทะเลติดต่อระหว่างยุโรปกับเอเชียส่งผลให้เกิดเส้นทางเดินเรือติดต่อระหว่างดินแดนต่างๆ รอบโลก ทำให้ค้นพบดินแดนใหม่ๆ ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกันมาก่อน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติอย่างกว้างขวาง
ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จของการสำรวจทางทะเล
หลังสงครามครูเสด ชาวยุโรปมีความสนใจดินแดนตะวันออกมากขึ้นและต้องการแข่งขันกับพ่อค้าอาหรับทางการค้ากับอินเดียและจีน เพราะสินค้าประเภทเครื่องเทศ ผ้าไหมและอัญมณีต่างๆ เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมในตลาดยุโรป แต่ชาวยุโรปไม่สามารถใช้เส้นทางเดิมที่ต้องผ่านเอเชียไมเนอร์และตะวันออกกลางซึ่งอยู่ใต้อิทธิพลของพวกมุสลิมได้ จึงพยายามหาทางเดินเรือไปสู่อินเดียโดยตรง ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักเดินเรือชาวยุโรปประสบความสำเร็จในการเดินเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮป (Cape of Good Hope) ทางใต้สุดของทวีปแอฟริกา และสามารถพัฒนาเส้นทางติดต่อทางทะเลระหว่างยุโรปกับเอเชีย โดยมีปัจจัยส่งเสริมความมสำเร็จของการสำเร็จทางทะเลหลายประการ ดังนี้
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการเดินเรือ เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยให้นักเดินเรือชาวยุโรปประสบความสำเร็จในการสำรวจทางทะเล ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการเดินเรือประกอบด้วย
แผนที่ แผนที่เกี่ยวกับดินแดนต่างๆ โดยเฉพาะทวีปอฟริกาและเอเชียที่ทำขึ้นในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ โดยเฉพาะทวีปแอฟริกาและเอเชียที่ทำขึ้นในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ว่าโลกกลม เป็นข้อมูลสำคัญที่นักเดินเรือใช้ในการศึกษาเส้นทางเดินเรือระหว่างยุโรปกับเอเชีย
map01ya8เข็มทิศ เข็มทิศเป็นสิ่งประดิษฐ์ของชาวจีนที่นักเดนเรือชาวอาหรับนำไปเผยแพร่ ทำให้ชาวยุโรปรู้จักใช้เข็มทิศและสามารถเดินเรือห่างจากชายฝั่งทะเลในระยะไกล
เทคโนโลยีการต่อเรือ ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชาวยุโรปยังไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีการต่อเรือได้ทัดเทียมชาวเอเชีย โดยเฉพาะชาวจีนและชาวอาหรับซึ่งมีทักษะในการต่อเรือขนาดใหญ่หลายชิ้นที่สามารถบรรทุกคนและสินค้าปริมาณมาก ทำให้สามารถเดินทางในทะเลลึกเป็นระยะทางไกลๆ ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชาวโปรตุเกสและสเปนได้พัฒนาการต่อเรือ โดยเฉพาะการพัฒนารูปร่างและหางเสือเรือที่ช่วยให้สามารถโต้คลื่นและพายุได้ดี อีกทั้งยังช่วยให้เรือแล่นได้เร็วขึ้นอีกด้วย ความสำเร็จดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ส่งเสริมการสำรวจทางทะเลของประเทศในยุโรป
การประดิษฐ์ปืนใหญ่ ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชาวยุโรปประสบความสำเร็จในการพัฒนาปืนใหญ่ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำคัญอย่างหนึ่ง เพราะช่วยให้นักสำรวจชาวยุโรปสามารถต่อสู้กับโจรสลัดที่มักปล้นเรือกลางทะเลได้ ทำให้สามารถเดินทางต่อไปได้ อนึ่ง ปืนใหญ่ยังเป็นอาวุธที่ช่วยให้ชาวยุโรปยึดครองดินแดนต่างๆ ในแอฟริกาและเอเชียด้วย
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในยุโรป เมื่อระบบปกครองแบบฟิวดัลเสื่อมลง กษัตริย์และประมุขของรัฐต่างๆ ในยุโรปมีอำนาจมากขึ้นและพัฒนาไปสู่รัฐชาติ ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 กษัตริย์บางประเทศ เช่น สเปน โปรตุเกส ฝรั่งเศส และอังกฤษ สามารถรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางและต้องการอำนาจรวมทั้งความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เห็นว่าการค้าและการยึดครองอาณานิคมนอกดินแดนยุโรปจะช่วยสร้างความร่ำรวยให้กับรัฐบาลและประชาชน นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นความคิดแบบชาตินิยมและสร้างความภูมิใจในหมู่ประชาชนของตนด้วย ผู้นำของประเทศเหล่านั้นจึงออกเงินสนับสนุนการสำรวจทะเลในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของยุโรป ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ระบบเศรษฐกิจของยุโรปมีการพัฒนาแบบเสรีนิยม ทั้งการใช้ระบบเงินตราแบบมาตรฐาน (การใช้เหรียญทองคำ) ซึ่งส่งเสริมให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ และการพัฒนาระบบธนาคารที่สนับสนุนการกู้เงินเพื่อการลงทุนและสำรวจดินแดน นอกจากนี้เมื่อรัฐบาลของประเทศต่างๆ ยุติการลงทุนเพื่อการสำรวจทางทะเลแล้ว บางประเทศยังมีการลงทุนตั้งบริษัทเพื่อดำเนินการค้าและการสำรวจดินแดนโพ้นทะเลโดยรัฐบาลของประเทศให้การสนับสนุน เช่น บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ (English East India Company) และบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (Dutch East India Company) หรือ VOC บริษัทดังกล่าวได้ระดมทุนโดดยวิธีขายหุ้นให้แก่นักลงทุนทั่วไป ทำให้สามารถระดมทุนจำนวนมหาศาลเพื่อขยายการค้าและจับจองดินแดน ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมการสำรวจทางทะเล
การขยายตัวของประชากรยุโรป ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ประชากรยุโรปมีการขยายตัวมากขึ้นเนื่องจากการเพิ่มของประชากร แต่พื้นที่ประกอบเกษตรกรรมมีจำกัด ทำให้ประชากรบางส่วนยินดีออกไปแสวงโชคในดินแดนโพ้นทะเล ทั้งการทำงานเป็นลูกเรือ และการตั้งถิ่นฐานในอาณานิคม นอกจากนี้ยังมีคนบางกลุ่มยินดีไปแสวงหาโอกาสในดินแดนใหม่ด้วยเหตุผลทางด้านการเมืองและการนับถือศาสนา เช่น พวกพิวริตันในอังกฤษจำนวนมากได้ตั้งถิ่นฐานในโลกใหม่เพราะต้องการเสรีภาพในการนับถือศษสนา จึงทำให้การสำรวจทางทะเลและจับจองดินแดนใหม่ๆ ขยายตัวเพราะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนหลากหลายกลุ่ม
การสำรวจทางทะเลของประเทศยุโรป
ประเทศในยุโรปได้แข่งขันกันสำรวจทางทะเล และทำให้มีการจับจองดินแดนต่างๆ เป็นอาณานิคม ดังนี้
โปรตุเกส เป็นชนชาติแรกที่เริ่มสำรวจทางทะเลอย่างจริงจัง ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยเจ้าชายเฮนรี หรือ Henry the Navigator เป็นผู้ส่งเสริมการพัฒนาการเดินเรือและฝึกฝนนักเดินเรือของโปรตุเกส ทำให้โปรตุเกสเริ่มยึดครองดินแดน เพื่อตั้งสถานีการค้าแถบชายฝั่งของแอฟริกาตะวันตก ต่อมาใน ค.ศ. 1498 วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama) นักเดินเรือชาวโปรตุเกสประสบความสำเร็จในการเดินเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮปและแล่นเรือตัดมหาสมุทรอินเดียไปยังประเทศอินเดีย หลังจากนั้นโปรตุเกสได้ขยายไปจับจองอาณานิคมในทวีปอเมริกาใต้ (ประเทศบราซิลปัจจุบัน) เกาะลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมาเก๊า
445
สเปน เริ่มต้นสำรวจดินแดนโดย คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักเดินเรือชาวอิตาลีที่ได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์สเปน โคลัมบัสแล่นเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปทางตะวันตกของยุโรปและพบหมู่เกาะเวสต์อินดีส (West Indies) ในทวีปแอฟริกา ซึ่งเขาเข้าใจผิดว่าเป็นชายฝั่งทะเลของอินเดีย (Americao Vespucci) ชาวยุโรป จึงทราบว่าดินแดนที่โคลัมบัสค้นพบนั้นเป็น “โลกใหม่” หรือดินแดนใหม่ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักในยุโรปและเรียกว่า “อเมริกา” ตามชื่อของอเมริโก เวสปุซซี การค้นพบทวีปอเมริกา ทำให้สเปนครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกา (ทั้งเหนือและใต้) รวมทั้งหมู่เกาะจำนวนมากในทะเลแคริเบียน นอกจากนี้สเปนยังยึดครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมด้วย ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 สเปนเป็นจักรววรดิที่ยิ่งใหญ่และมั่งคั่งที่สุด
31อังกฤษ ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 คณะนักสำรวจของอังกฤษได้พบดินแดนชายฝั่งหมู่เกาะนิวฟาวแลนด์ (์ำNew Foundland) และโนวาสโกเทีย (Novascotia) ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกาเหนือ แต่ยังไม่ได้จัดตั้งอาณานิคมใดๆ ในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 16 อังกฤษเริ่มพัฒนากองเรือเพื่อทำลายความเข้มแข็งทางการค้าทางทะเลของโปรตุเกสและสเปน ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 รัฐบาลอังกฤษออกประทานบัตรให้จัดตั้งบริษัทเอเชียตะวันออกของอังกฤษ ซึ่งได้จัดตั้งสถานีการค้าในอินเดียและคาบสมุทรทลายู ต่อมาดินแดนเหล่านั้นกลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ส่วนในทวีปอเมริกาเหนือนั้น ชาวอังกฤษเข้าไปตั้งถิ่นฐนตั้งแต่ ค.ศ. 1607 และขยายต่อไปจนมีอาณานิคมรวม 13 แห่ง นอกจากนี้ ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักสำรวจชาวอังกฤษชื่อ กัปตันเจมส์ คุก (James Cook) เดินเรือไปถึงทวีปออสเตรเลียและอ้างสิทธิของอังกฤษเหนือดินแดนดังกล่าว
เนเธอร์แลนด์ ชาวดัตช์เริ่มสำรวจและขยายการค้าทางทะเลตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 และก่อตั้งสถานีการค้าในทวีปต่างๆ เช่น บริเวณแหลมกู๊ดโฮปทางใต้สุดของทวีแอฟริกา หมู่เกาะชวา สุมาตรา มะละกา และเกาะลังกาในทวีปเอเชีย นอกจากนี้ยังมีสถานีการค้าที่เกาะแมนฮัตตัน (Manhattan) ในทวีปอเมริกาเหนือ รวมทั้งในหมู่เกาะเวสต์อินดีสและทวีปอเมริกาใต้
ฝรั่งเศส เริ่มสำรวจทวีปอเมริกาเหนือในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และยึดครองอาณานิคมในแคนาดาและอเมริกาเหนือ นอกจากนี้ยังมีอาณานิคมอีกหลายแห่งในหมู่เกาะเวสต์อินดีสและอินเดีย
การสำรวจทางทะเลของประเทศต่างๆ ในยุโรปทำให้มีการค้นพบดินแดนใหม่ที่ชาวยุโรปไม่เคยรู้จักมาก่อน และมีการจับจองอาณานิคมซึ่งบางครั้งก่อให้เกิดความขัดแย้งในกลุ่มประเทศยุโรปที่ขยายเป็นสงครามในเวลาต่อมา
ผลของการสำรวจทางทะเลต่อพัฒนาการของยุโรป
การสำรวจทางทะเลส่งผลต่อพัฒนาการของยุโรปทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ดังนี้
ทางการเมือง การสำรวจทางทะเลทำให้เกิดผลกระทบต่อพัฒนาการทางการเมืองยุโรปที่สำคัญ 3 ประการ คือ
ประการแรก ทำให้ยุโรปกลายเป็นศูนย์กลางอำนาจของโลก เพราะประเทศในยุโรปเป็นเจ้าของอาณานิคมในทวีปต่างๆ ทั่วโลก
ประการที่สอง ทำให้ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการสำรวจทางทะเลสามารถยึดครองอาณานิคมจำนวนมาก เช่น สเปนและอังกฤษกลายเป็นชาติมหาอำนาจที่มีแสนยานุภาพทางทะเล ซึ่งส่งผลให้ประเทศอื่นๆ พยายามถ่วงดุลและกลายเป็นปัญหาทาการเมืองของยุโรป
ประการที่สาม ทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองในยุโรป เนื่องจากประเทศต่างๆ แข่งขันกันขยายอิทธิพลทางการค้าและจับจองอาณานิคม กระทั่งกลายเป็นสงครามที่ส่งผลกระทบต่แประเทศคู่กรณีและพันธมิตร
ทางเศรษฐกิจ การสำรวจทางทะเลมีผลต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจของยุโรปที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
ประการแรก ทำให้ประเทศในยุโรปเจริญรุ่งเรืองและมั่งคั่ง เนื่องจากการติดต่อค้าขายกับดินแดนต่างๆ ได้สร้างกำไรมหาศาลให้กับราชสำนัก พ่อค้าและนักลงทุน และทำให้สมาคมอาชีพที่เคยมีบทบาทสำคัญทางการค้าต้องล้มเลิกไป
ประการที่สอง ทำให้เกิดการขยายตัวของการค้า เนื่องจากมีการใช้ระบบเงินตรา ระบบธนาคาร และการให้สินเชื่ออย่างกว้างขวาง
ประการที่สาม ทำให้ยุโรปเป็นผู้นำการปฏิวัติอุตสาหกรรม เพราะเป็นเจ้าของแหล่งวัตถุและตลาดในดินแดนอาณานิคม ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรม
ทางสังคม ความมั่งคั่งจากการค้าทางทะเลได้ส่งผลต่อพัฒนาการทางสังคมของชาวยุโรปด้วย ดังนี้
ประการแรก สถานะและวิถีชีวิตของพ่อค้าซึ่งเป็นชนชั้นกลาในสังคม มีการเปลี่ยนแปลงและได้รับการยอมรับจากชนชั้นสูงมากขึ้น พ่อค้าที่ร่ำรวยมั่งคั่งมักใช้ชีวิตอย่างหรูหราในคฤหาสน์ราคาแพง และสะสมผลงานศิลปะและอัญมณีล้ำค่า นอกจากนี้พ่อค้าบางคนยังมีบทบาทสำคัญทางดารเมือง เพราะเป็นผู้ให้เงินสนับสนุนกษัตริย์และสถาบันศาสนา สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงค่านิยมในสังคมยุโรปที่ให้ความสำคัญกับวัตถูนิยมเพิ่มมากขึ้น
ประการที่สอง ความรุ่งเรืองของการค้าทางทะเลทำให้การบริโภคสินค้าจากเอเชีย เช่น เครื่องเทศ เครื่องปั้นดินเผา ฬบชา ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในแวดวงชนชั้นสูงหรือชนชั้นกลางระดับสูงอีกต่อไป เพราะมีการนำเข้าสินค้าเหล่านี้จำนวนมากและราคาก็ถูกลง ทำให้คนทั่วไปสามารถบริโภคได้ นอกจากนี้พืชผลบางอย่างที่นำเข้ามาจากทวีปแอฟริกา เช่น มันฝรั่ง ถั่วต่างๆ มะเขือเทศ ฟักทอง ฯลฯ ก็กลายเป็นอาหารที่ชาวยุโรปบริโภคในชีวิตประจำวันด้วย
78ประการที่สาม ชาวยุโรปมีโอกาสเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของชาวตะวันออก โดยเฉพาะอินเดียและจีนซึ่งเป็นชาติที่มีอารยธรรมเก่าแก่ ศิลปวัตถูของจีน โดยเฉพาะเครื่องลายครามกลายเป็นของสะสมราคาแพงที่นิยมกันในหมู่ชนชั้นสูงและเศรษฐียุโรป และยังบ่งชี้ถึงฐานะและรสนิยมของผู้ครอบครองด้วย
โดยสรุป การสำรวจทางทะเลมิได้ส่งผลตอพัฒนาการและความก้าวหน้าของยุโรปเท่านั้น หากยังทำให้เกิดการขยายตัวของลัทธิจักรวรรดินิยมที่ส่งผลต่อพัฒนาการของทวีปอเมริกา แอฟริกา และเอเชีย ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งจะได้กล่าวในหัวข้อการขยายตัวของลัทธิจักรวรรดินิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 19

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น